เรื่องเล่าการสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ที่หอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อ Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARS-CoV-2) อาการที่พบบ่อยคือ ไข้ ไอและหายใจไม่อิ่ม วิธีการแพร่กระจายของเชื้อยังไม่แน่ชัดแต่เชื่อว่าเชื้อสามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยน้ำมูกและน้ำลาย อัตราการตายอยู่ระหว่าง 0.001 ถึง 0.068 รายต่อ 10 วันประชากร แตกต่างกันไปขึ้นกับ อายุ เพศ และโรคที่เป็นร่วมของผู้ป่วย ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 4 ถึง 6 วันโดยเฉลี่ย
ในวันที่ 9 ตุลาคม 2565 พบผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบไม่มีแรง เรียกรถ EMS ไปรับที่บ้าน พื้นที่ตำบล บ้านใหม่ อำเภอท่าม่วง ให้ประวัติว่า 3 วันก่อนมา รพ มีอาการเหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย นอนราบไม่ได้ V/S T = 36 C R = 30 / min P = 96 / min on O2 Mask C bag Sat 89 % on ETT 7.5 ตรวจ ATK Positive ส่ง RT-PCR Refer ไป รพ . มะการักษ์ หลังจากนั้นห้องฉุกเฉินได้แจ้งข้อมูลมายังงานป้องกันการติดเชื้อ เพื่อติดตามประวัติเก่า ที่พบว่าผู้ป่วยเคยเข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ในหอผู้ป่วยชาย ด้วยเรื่อง โรคหัวใจ CHF เมื่อวันที่ 1 – 5 ตุลาคม 2564 รักษาจนอาการดีขึ้น ขณะที่ มานอนโรงพยาบาล ตรวจ ATK ไม่พบเชื้อ จากข้อมูลดังกล่าว จึงได้มีการดำเนินการสอบสวนโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1). เพื่อหาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2). เพื่ออธิบายลักษณะทางระบาดวิทยา โดยใช้นิยามผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3). เพื่อลดอัตราการเกิดการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานพยาบาล ในช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 16 ตุลาคม 2564 ผู้ป่วยที่เข้าข่ายเสี่ยง โควิด 19 ทั้งหมด 187 รายพบมีการติดเชื้อ Covid 19 จำนวน 17 ราย ( 9% ) เป็นผู้ป่วยจำนวน 10 ราย (58.8 %) ญาติที่มาเฝ้าไข้จำนวน 4 ราย ( 23 %) และผู้ป่วยที่มานอนรักษาช่วงที่มีการระบาดซึ่งกลับบ้านไปและเข้ามาโรงพยาบาลด้วยมีอาการ และติดเชื้อโควิด จำนวน 3 ราย ( 17.6 %) สาเหตุในการติดเชื้อที่ทำให้มีการแพร่ระบาด ครั้งนี้ มาจากผู้ป่วย ให้ประวัติที่ไม่ชัดเจน และไม่มีการตรวจ เชื้อโควิด19 ก่อนเข้ามานอนโรงพยาบาล และ ญาติที่เข้ามาเฝ้าไข้มีการปรับเปลี่ยนกันหลายคน มีการละเมิดหลัก DMHTT และเกิดจากกระบวนการดูแลรักษาของทางโรงพยาบาลเองเช่น บุคลากรอาจไม่ได้มีการล้างมือ ตามหลัก 5 moment การสัมผัสกับผู้ป่วยอาจเกิด Cross Transmission ในการทำหัตถการ มีการพ่นยา NB ทำให้เกิดการฟุ้งกระจาย aerosol ไปยังผู้ป่วย หรือ ญาติ ที่นอนใกล้กัน อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การทำความสะอาดเช็ดถูหลังจากใช้งาน อาจไม่ทั่วถึง เมื่อทางงานป้องกันการติดเชื้อ เข้าไปดูพื้นที่ ที่พบการระบาดในหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
จึงได้มีมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ Covid 19 มีดังนี้ 1. งดรับผู้ป่วยเข้านอนในตึก 2. ย้ายผู้ป่วยที่ผลการตรวจไม่พบเชื้อไปยังตึกที่จัดไว้เฉพาะผู้ป่วยสงสัย ( PUI ) ส่วนผู้ป่วยที่ผลการตรวจพบเชื้อ Covid 19 ให้ย้ายไปรักษาตัวที่ Cohort Ward และให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ ให้เฝ้าระวังตัวต่อที่บ้าน ให้สังเกตอาการ หากมีอาการให้กลับมาโรงพยาบาล 3.ดำเนินการปิดหอผู้ป่วยชาย ให้ทำความสะอาดตึก โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อตามแนวทางการป้องกันการติดเชื้อกำหนดและค่อยเปิดรับบริการ จากการระบาดที่พบว่ามีการติดเชื้อ Covid 19 มีแนวทางข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในเรื่องระบบการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลดังนี้ 1. การจัดระบบคัดกรอง การวัดอุณหภูมิ 2. การเว้นระยะห่างระหว่างสังคม 3. การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน 4. การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย และ 5. การล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำสบู่หรือ แอลกอออล์เจล 6. งดการเข้าเยี่ยม การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค 7. มาตรการในการเฝ้าระวัง ให้ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ และสิ่งแวดล้อม
ข้อเสนอแนะทางสาธารณสุข
ทางโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 จะมีการเพิ่มมาตรการในการคัดกรอง ผู้ป่วย การอนุญาตให้เข้าเยี่ยม ในบางราย หรือมาตรการการงดเยี่ยม ต้องให้มีความเข้มงวด และชัดเจน แนวทางการขอตรวจ ATK ในกลุ่มผู้ป่วย หรือ ญาติ เพื่อป้องกันผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหลุดเข้าไปนอนรวมกันกับผู้ป่วยอื่น / การผลัดเปลี่ยนญาติที่เข้ามา มีการส่งข้อมูล ขอความร่วมมือทุกหน่วยงาน ให้ ติดตาม ค้นหา ผู้สัมผัสใกล้ชิด โดยอาจใช้หลักระบาดวิทยา เวลา (Time) คน (Person) และ สถานที่ (Place) เพื่อลดระยะเวลาในการสอบสวนโรค และการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดได้รวดเร็ว เพื่อหยุดการระบาดในวงกว้าง
ชลิดา เกียรติดิลกรัฐ เบอร์โทรศัพท์ 092 – 4426199
Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.