สองปีที่ผ่านมา....พวกเราชาวดมยาต่อสู้กับโรคโควิด เมื่อมีเวลามองย้อนกลับมา....การระบาดทั่วไปของโควิด-
19 เป็นการระบาดทั่วโลกที่กำลังดำเนินไปของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19; โควิด-19) โดยมีสาเหตุมาจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยพบครั้งแรกในนครอู่ฮั่น เมืองหลวงของมณฑลหูเป่ยประเทศจีนองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดนี้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ ในวันที่ 30 มกราคม 2563 และประกาศให้เป็นโรคระบาดทั่ว ในวันที่ 11 มีนาคม 2563

ไวรัสมีการแพร่เชื้อระหว่างคนในลักษณะเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โดยผ่านการติดเชื้อจากละอองเสมหะจากการไอ ระยะระหว่างการสัมผัสเชื้อและมีอาการโดยทั่วไปแล้วอยู่ที่ 5 วันแต่มีช่วงอยู่ระหว่าง 2 ถึง14 วันอาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ไอ และหายใจลำบาก ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมไปถึงปอดบวม และกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน โดยยังไม่มีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตหรือยาต้านไวรัสจำเพาะในช่วงแรก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 การรักษาจึงพยายามมุ่งเป้าไปที่การจัดการกับอาการ และรักษาแบบประคับประคอง

มาตรการป้องกันที่มีการแนะนำ คือการใส่หน้ากากอนามัย การล้างมือ การอยู่ห่างจากบุคคลอื่น (โดยเฉพาะกับบุคคลที่ป่วย) ติดตามอาการ และกักตนเองเป็นเวลา 14 วัน ในกรณีที่สงสัยว่าตนอาจติดเชื้อ

กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศเมื่อวันที่ 12 ม.ค. 2563 ว่าพบนักท่องเที่ยวหญิงวัย 61 ปี

สัญชาติจีน ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 นับว่าเป็นการพบผู้ติดเชื้อคนแรกนอกประเทศจีน จากการสอบสวนโรค พบว่าเธอเดินทางออกจากเมืองอู่ฮั่น ถึงท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2563 ต่อมาในวันที่ 31 ม.ค.ชายไทยวัย 50 ปี ซึ่งขับแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร ได้รับผลตรวจว่าติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพราะก่อนหน้านี้เขารับผู้โดยสารชาวจีนจากเมืองอู่ฮั่นซึ่งมีอาการป่วยไปส่งโรงพยาบาล ถือว่าชายคนนี้เป็นคนไทยรายแรกที่ติดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โดยไม่เคยมีประวัติเดินทางไปประเทศจีนมาก่อน คนขับแท็กซี่ เข้ารักษาตัวที่สถาบันบำราศนราดูรและหายจากโรค กลับบ้านไปใช้ชีวิตตามปกติในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563

จังหวัดกาญจนบุรี พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รายแรกเป็นนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยาเขตกาญจนบุรี มีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดระยอง

โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ได้รับมอบนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขและมีแนวทาง

การดูแลรักษาผู้ป่วยและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยคนไข้รายแรกที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยหญิง ที่มีอาการอยู่ในกลุ่มเสี่ยง จึงนอนรอผลตรวจ RT-CPR เมื่อเดือน มี.ค.2563 จัดตั้งทีม EOC จัดทำคลินิก ARI จัดทีมการรักษาพยาบาล ปรับปรุงตึก Cohort ดูแลผู้ป่วยรายแรกเป็นเพศชายอายุ 34 ปี ติดโควิดจากการไปปฏิบัติหน้าที่ที่จังหวัดสมุทรสาคร

งานการพยาบาลวิสัญญี ได้สนองรับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการบริการผ่าตัดและให้ยาระงับความรู้สึก ภายใต้สถานการณ์การแพร่กระจายของโควิด จัดทำแนวทางการให้ยางะงับความรู้สึกผู้ป่วยและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง แนวทางการใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยโควิด การเตรียมความพร้อม การซ้อมแผนผ่าตัดผู้ป่วยโควิดร่วมกับงานการพยาบาลผู้คลอด การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในหอผู้ป่วย Cohort ตั้งแต่ ม.ค.2564 จนถึงปัจจุบัน การร่วมเป็นทีม Swab ของคลินิก ARI ตั้งแต่ ม.ค.2565- ก.ค.2565 จัดตั้งทีมดูแลผู้มารับบริการฉีดวัคซีน ตั้งแต่ เม.ย.2564 – ก.ค.2565 ผู้ป่วยรายแรกที่พวกเราต้องใส่ชุด PPE เป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงที่มาจากจังหวัดกรุงเทพ เพศชาย อายุ 55 ปี เมี่อ เม.ย. 2564 พวกเราชาวดมยาให้บริการระงับความรู้สึกผู้ป่วยโควิดและผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จำนวน 50 ราย ปฏิบัติงานใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะแทรกซ้อน จำนวน 30 ราย จนมาถึงวันนี้ วันที่ 1 ก.ค. 2565

กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น พวกเราชาวดมยากลับมาใช้ชีวิตแบบ New normal ใส่ mask ล้างมือบ่อยๆ พวกเราหันกลับไปมองวันที่เหนื่อย วันที่ล้า วันที่ท้อ วันแล้ววันเล่าแล้ววันหนึ่งเราก้อตระหนักได้ว่า ถ้าเรามั่นใจว่าเราจะสู้ไปด้วยกัน ...ใจพร้อม.. ..กายพร้อม. . เราสามารถทำได้ทุกอย่าง...แล้วมันก้อผ่านไป

เมื่อมองย้อนกลับไปพวกเราครอบครัววิสัญญีได้ถูกมอบหมายให้รับผิดชอบภารกิจหลากหลายที่แทรกซึมไปในทุกอณูของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วย Covid เสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่มีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญทั่วร่างกายของคนเรา หลายครั้งที่มีความรู้สึกเหนื่อยและท้อแต่เมื่อมองสิ่งที่ผ่านมา 👀👀👀

😇 แม้ไม่มีใครรู้ แต่เรารับรู้😇 พวกเราทำได้และผ่านมาได้อย่างสวยงาม และเป็นความภาคภูมิใจที่อยู่ในใจของพวกเราเสมอ ณ ที่แห่งนี้ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช โรงพยาบาลคู่คุณธรรมตลอดไป 🙏🙏

น.ส.อารยา   จิตรประชา
งานการพยาบาลวิสัญญี กลุ่มงานการพยาบาล