วัณโรค (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB, acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลืองสมอง และลำ ไส้ ในสมัยก่อนผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจน หายขาดได้ การติดเชื้อวัณโรคแตกต่างจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เพราะเชื้อวัณโรคสามารถ อยู่ในตัวผู้ป่วยโดยไม่มีอาการได้นานๆเรียกว่า วัณโรคระยะแฝง ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรคระยะ แฝงประมาณ 2,000 ล้านคน โดย10% ของวัณโรคระยะแฝงจะเกิดเป็นโรควัณโรคปอดภายใน 10 ปี

tb

 

วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนทางการหายใจ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่จากผู้ป่วยวัณโรค ปอดไปสู่ผู้อื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็กๆซึ่งออกมาจากการไอ จาม หรือพูด ละอองเสมหะเหล่านี้จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และเมื่อสูดเข้าไปจะเข้าไปจนถึงถุงลมปอด แล้วเกิดการอักเสบได้ ในการไอ 1 ครั้งอาจพบมีละอองเสมหะออกมาถึง 3,000 ละอองเสมหะ

โอกาสของการแพร่เชื้อวัณโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยคือ

  1. ลักษณะของวัณโรคปอดคือ ถ้าเป็นวัณโรคปอดชนิดที่มีโพรง (เนื้อปอดเกิดเป็นโพรงซึ่งติดต่อกับหลอดลมได้ดี จึงทำให้ตรวจพบเชื้อในเสมหะได้สูง) ซึ่งมักจะตรวจพบเชื้อในเสมหะ จะมีการแพร่เชื้อวัณโรคออกทางเสมหะมาก แต่ในผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดชนิดไม่มีโพรง (โอกาส ตรวจพบเชื้อในเสมหะลดลง) หรือผู้ป่วยที่ย้อมเสมหะไม่พบเชื้อจะมีการแพร่เชื้อน้อยกว่า และในผู้ ป่วยวัณโรคนอกปอดเช่น วัณโรคในต่อมน้ำเหลืองและวัณโรคในเยื่อหุ้มปอด จะไม่มีการแพร่เชื้อ
  2. การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคปอดในสภาพแวดล้อมที่ปิดทึบ การระบายอากาศไม่ดี ไม่ โดนแสงแดด โอกาสจะติดเชื้อวัณโรคจะสูงขึ้น เพราะเชื้อวัณโรคที่อยู่ในละอองเสมหะจะถูกทำ ลายได้เมื่อโดนแสงแดดและความร้อน
  3. วัณโรคจะไม่ติดต่อทางการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสัมผัส และในผู้ป่วยวัณโรค ปอดที่ได้รับยาวัณโรค ส่วนใหญ่จะไม่แพร่เชื้อเมื่อทานยาเกิน 2 อาทิตย์ไปแล้ว

 

ตารางเวรโรงพยาบาล

KPI-Manager 2019

hosxp qrcode
แสกน
QR Code
KPI 2019

กลุ่มการพยาบาล

hosxp qrcode
แสกน
QR Code
QA 2564
hosxp qrcode
แสกน
QR Code
KM 2564

รวมแผน 63 และสำรวจ 64

การประเมินคุณธรรม ( ITA )

แบบฟอร์มขอใช้ iMeet

hosxp qrcode
แสกน
QR Code
หรือคลิก

แบบฟอร์มขอใช้ HosXP

hosxp qrcode
แสกน
QR Code
หรือคลิก

ตัวชี้วัด RP2563

pttype qrcode
แสกน
QR Code
หรือคลิก

การจัดการความเสี่ยง

อัตราค่าห้องและค่าอาหาร

ตรวจสอบเวลาการให้บริการ